วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการปฐมวัยศึกษา

1. ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ
ปฐมวัยศึกษา การพัฒนาคุณภาพการปฐมวัยศึกษาและการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นย่อมต้องอาศัยการนำแนวคิดและวิธีการหรือการกระทำใหม่ๆ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ ซึ่งก็หมายถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้นั่นเอง โดยสิ่งที่นำมาใช้ใหม่ๆ เรียกว่า นวัตกรรม แต่เมื่อมีการวิจัยและเผยแพร่ก็จะกลายสภาพไปเป็นเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ในที่นี้จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระบบการใช้ เพราะมีความสำคัญต่อการเสริมและขยายประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะต้องเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม
1. ประเภทและประโยชน์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ
ปฐมวัยศึกษา
การจัดแบ่งประเภทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นได้มีผู้จัดแบ่งไว้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับแนวคิดและเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการพิจารณา อาทิ วสันต์ อติศัพย์ จัดแบ่งเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็น 4 อย่าง ได้แก่
1. ระบบสื่อการสอน
2. สื่อมวลชนทางการศึกษา
3. การศึกษามวลชน
4. การศึกษารายบุคคล


ส่วนนวัตกรรมทางการศึกษา จอห์น มาร์ติน รีช จัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มนวัตกรรมหลักสูตรและการสอน
2. กลุ่มนวัตกรรมรูปแบบหรือโครงสร้างการบริหาร

ชัยยงค์ พรหมวงค์ แบ่งนวกรรมออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
1. นวกรรมด้านศึกษาในระบบโรงเรียน
2. นสกรรมด้านศึกษานอกระบบโรงเรียน
3. นวกรรมด้านศึกษามวลชน

สำลี ทองธิว แบ่งประเภท นวกรรมออกเป็น 5 อย่างคือ
1. ประเภทหลักสูตร
2. ประเภทบริหารและจัดการ
3. ประเภทการสอน
4. ประเภทโครงการ
5. ประเภทเครื่องสมองกล

สำหรับผู้เขียนได้แบ่งประเภทของนวกรรมและเทคโนโลยีทางการปฐมวัยศึกษาในหน่วยที่ 11 ออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. ประเภทการสอน
2. ประเภทหลักสูตร
3. ประเภทบริหาร

นอกจากนี้ หากประมวลจากประโยชน์ของนวกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาอ้างอิงมานั้น จะสามารถสรุปสาระสั้นๆ ได้ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้โดยเฉพาะการถ่ายโยง
ความคิด ทำให้เข้าใจได้ง่าย ทั้งส่งเสริมความคงทนในการจำ ทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน กระตือรือร้นในการเรียน
2. ด้านประสิทธิภาพ จะช่วยให้การศึกษามีการจัดระบบมากขึ้น มีการทดลอง
ค้นคว้า วิจัย วิธีการหรือการกระทำใหม่ๆ ทำให้ประสิทธิผลสูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพประชากรและประเทศชาติในที่สุด
3. ด้านความเสมอภาค ทำให้การศึกษากระจายได้ทั่วถึง จัดได้สนองความ

ต้องการเป็นรายบุคคลมากขึ้น เป็นการประหยัดการลงทุน ส่งผลกระทบทางบวกต่อผู้เกี่ยงข้องกับการศึกษาระดับนี้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้อื่นๆ

แหล่งที่มา : http://topfeengak.blogspot.com/2007/12/blog-post_5929.html

6 ความคิดเห็น: